เกี่ยวกับ UNDV
การจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาของ การจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก
ผู้บริหาร สสวล.
International Council of the United Nations Day of Vesak
ผู้บริหาร สมพน.
International Association of Buddhist Universities
สำนักงาน
สำนักงาน สสวล. / สมพน.
โครงการ
คำประกาศปฎิญญากรุงเทพมหานคร
ความหมายของตราสัญญลักษณ์
เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง พุทธชยันตี : ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ขององค์พระพุทธเจ้า

องค์ปาฐกถาพิเศษ
พระภาวนาวิเทศ (หลวงพ่อเขมธัมโม)
วัดป่าสันติธรรม เมืองวอริค
มณฑลวอริคเชียร์ ประเทศอังกฤษ


Guest Speaker
Ven Sheng Kai
ดร. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
Symposium Speakers
Rev.Noriaki Kunitomo
ศาสตราจารย์วันชัย วัฒนศัพท์
Prof. Kamaleswar Bhattacharya
Dr. Phil Tan
Prof. Dr. Donald K Swearer
ดร. ตัม ดึ๊ก
  ดร.จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์
Prof. Dr. Keown
พระหยวน ฉี
ศาสตราจารย์ ดร. พระคำหมาย ธัมมสามิ
ศาสตราจารย์สุมานะปาละ กัลมานโกฏะ
Dr Sarah Shaw

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)
แผนผัง มจร
แผนผัง ห้องประชุมและสถานที่จัดงานใน มจร
องค์การสหประชาชาติ (UN)
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
(วัดพระแก้ว)
พุทธมณฑล
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
อยุธยา เมืองมรดกโลก
การบินไทย
โรงแรม & สิ่งอำนวยความสะดวก
Maps of Venues

ข่าวสารถึงอาสาสมัคร
ตำแหน่งที่ต้องการ
ร่วมสมัครเป็นอาสาสมัคร
คำถาม คำตอบ
นโยบายของอาสาสมัคร

สัญญาณถ่ายทอดสด
Press Released
วิดิทัศน์
รูปภาพ
ข้อมูลรูปภาพ
หนังสือ
เพลง
นิทรรศการ
Cultural Show

ข้อมูลคณะทำงาน
Story of each Vesak Celebrations
การเสวนาทางวิชาการ / วิทยากร
History of UN Day of Vesak Celebrations
กำหนดการ
INTERNATIONAL COUNCIL OF UNITED DAYS OF VESAK Executive Council Meeting of ICUNDV
บทความวิชาการ
The International Association of Buddhist
สถานที่จัดกิจกรรม
Officers and Location
ข่าวสาร
The 84th Birthday Anniversary of His Majestythe King & International Celebration on the Occasion of United Nations Day


โครงการ

Download file in .doc format

Click to Share this Article
เกี่ยวกับ UNDV
การจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก

ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาของ การจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก

ผู้บริหาร สสวล.
International Council of the United Nations Day of Vesak

ผู้บริหาร สมพน.
International Association of Buddhist Universities

สำนักงาน
สำนักงาน สสวล. / สมพน.

โครงการ

คำประกาศปฎิญญากรุงเทพมหานคร

ความหมายของตราสัญญลักษณ์
เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง พุทธชยันตี : ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ขององค์พระพุทธเจ้า




โครงการจัดกิจกรรมวิสาขบูชานานาชาติครั้งที่ ๙
เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง "พุทธชยันตี : ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ขององค์พระพุทธเจ้า"
เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
และ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
ในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี ๒๕๕๕
วันที่ ๓๑ พฤษภาคม และ ๑-๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕

ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ

๑. ชื่อโครงการ


โครงการจัดกิจกรรมวิสาขบูชานานาชาติครั้งที่ ๙ เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง "พุทธชยันตี : ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ขององค์พระพุทธเจ้า" เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารในวันวิสาขบูชา วันสำคัญ สากลของโลก ประจำปี ๒๕๕๕

๒. ชื่อหน่วยงาน


มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

๓. ผู้รับผิดชอบโครงการ


๓.๑ คณะกรรมการสมาคมสภาสากลวิสาขบูชาโลก มีหน้าที่ในการกำหนดกรอบทิศทางในการจัดงานวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก ประจำปี ๒๕๕๕
๓.๒ คณะกรรมการจัดงานจากประเทศไทย ซึ่งรัฐบาลแต่งตั้งจากผู้แทนคณะสงฆ์ ส่วนราชการ องค์กรเอกชน และอื่นๆ
๓.๓ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รับดำเนินการจัดกิจกรรมนานาชาติ
๓.๔ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย รับดำเนินการจัดกิจกรรม ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา และพุทธมณฑล จ.นครปฐม

๔. โครงการเชื่อมโยงกับมาตรฐาน


สกอ. องค์ประกอบที่ ๕ การบริการวิชาการแก่สังคม และ องค์ประกอบที่ ๖ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

๕. หลักการและเหตุผล


สืบเนื่องจากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ องค์การสหประชาชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ ๕๔ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติ และกำหนดให้มีการจัดกิจกรรมในวันดังกล่าว ณ สำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขา ในเดือนพฤษภาคมของทุกปี ประเทศไทยโดยคณะสงฆ์ รัฐบาล และประชาชน จึงได้จัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมฉลองในวันดังกล่าวมาตลอดทุกปีมิได้ขาดจนถึงปัจจุบันทั้งระดับประเทศและระดับท้องถิ่น จนถึงระดับนานาชาติ โดยในระดับนานาชาตินั้นคณะกรรมการจัดงานนานาชาติ (IOC) ซึ่งได้ประชุมกันในวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๑ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยเห็นพ้องต้องกันให้จัดตั้งสมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (ICDV) เพื่อดำเนินการจัดงานเฉลิมฉลองให้มีเอกภาพและมีประสิทธิภาพ

สำหรับในการจัดงานวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ ๙ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ นี้ คณะกรรมการจัดงานวิสาขบูชาโลก ในคราวประชุมเมื่อวันที่ ๘-๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้มีฉันทามติร่วมกันในการจัดงานวันวิสาขบูชาโลก ครั้ง ๙ ขึ้นในระหว่างวันที่ ๓๑ พฤษภาคม และ ๑-๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๕ ในหัวข้อ "พระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษยชาติ" (The Buddha's Enlightenment for the well-being of Humanity) เพื่อฉลองพุทธชยันตี : ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า อีกทั้งเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โดยกำหนดเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ๕,๐๐๐ รูป/คน จาก ๘๔ ประเทศ โดยมีการจัดงาน ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร และพุทธมณฑล จ.นครปฐม

๖. วัตถุประสงค์


๖.๑ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก
๖.๒ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพุทธชยันตี : ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
๖.๓ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
๖.๔ เพื่อสร้างความร่วมมืออันดีระหว่างชุมชนชาวพุทธและองค์กรชาวพุทธตั้งแต่ระดับประเทศถึงนานาชาติตามนโยบายของรัฐบาล
๖.๕ เพื่อร่วมกันสร้างทางเลือกในการประยุกต์ใช้พระพุทธศาสนาเพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษยชาติ
๖.๖ เพื่อร่วมกันประกาศหลักการทางพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นอารยธรรมสำคัญของโลกผ่านกิจกรรมทางวิชาการ ศาสนพิธีและวิถีชีวิตชุมชน

๗. ลักษณะกิจกรรม


๗.๑ การชุมนุมร่วมกันของผู้นำชาวพุทธ และนักวิชาการ ๘๔ ประเทศ
๗.๒ การแสดงสุนทรพจน์ เรื่อง "พระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษยชาติ" (The Buddha's Enlightenment for the well-being of Humanity)
๗.๓ การอ่านสุนทรพจน์ของบุคคลสำคัญและผู้นำชาวพุทธ
๗.๔ การเข้าร่วมงานของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร และผู้แทนฯ
๗.๕ การเข้าร่วมงานของนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และทุตานุฑูต จากประเทศไทยและต่างประเทศ
๗.๖ การแสดงทางวัฒนธรรมนานาชาติ
๗.๗ การสัมมนาทางวิชาการนานาชาติ
๗.๘ การเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตภาวนาถวายพระพรชัยมงคลและถวายพระราชกุศล
๘๐ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ และ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
๗.๙ การร่วมชุมนุมของผู้นำชาวพุทธ นักวิชาการ และบุคคลสำคัญที่สหประชาชาติ และการประกาศปฏิญญากรุงเทพ
๗.๑๐ การประกอบพิธีธรรมยาตราและเวียนเทียนที่พุทธมณฑล จ.นครปฐม

๘. เป้าหมายผลผลิต


๘.๑ เป้าหมายเชิงคุณภาพ
ได้ร่วมเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากล สหประชาชาติ พร้อมกับสำนักงานใหญ่ สหประชาชาติ และเฉลิมพระเกียรติเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร อันแสดงถึงความร่วมมืออันดีของชุมชนชาวพุทธและองค์กรชาวพุทธทั่วโลกตั้งแต่ระดับประเทศถึงนานาชาติตามนโยบายของรัฐบาล ได้ร่วมกันสร้างทางเลือกในการประยุกต์ใช้พระพุทธธรรมในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ และ ได้ร่วมกันประกาศหลักการทางพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นอารยธรรมสำคัญของโลกผ่านกิจกรรมทางวิชาการ ศาสนพิธีและวิถีชีวิตชุมชนไปสู่เวทีโลก

๘.๒ เป้าหมายเชิงปริมาณ


ผู้เข้าร่วมกิจกรรมและประชุมวิชาการพระพุทธศาสนานานาชาติ จาก ๘๔ ประเทศจำนวน ๕,๐๐๐ รูป/คนดังนี้
๘.๒.๑ ผู้นำ นักวิชาการ และนักปราชญ์ด้านพระพุทธศาสนา
ทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานจากต่างประเทศ ๖๐๐ รูป/คน

๘.๒.๒ ผู้เข้าร่วมประชุมจากต่างประเทศ ๑,๒๐๐ รูป/คน

๘.๒.๓ ผู้แทนมหาเถรสมาคม พระเถรานุเถระ
เจ้าคณะพระสังฆาธิการ ๓๐๐ รูป/คน

๘.๒.๔ คณะรัฐมนตรี ทูตานุทูต นักวิชาการ ด้านพระพุทธศาสนา
และผู้แทนองค์กรชาวพุทธ จากประเทศไทย ๕๐๐ รูป/คน

๘.๒.๕ พุทธศาสนิกชนจากประเทศไทย ๑,๕๐๐ รูป/คน

๘.๒.๖ สื่อมวลชนจากประเทศไทยและต่างประเทศ ๒๐๐ รูป/คน

๘.๒.๗ ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่นิสิตและนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ๙๐๐ รูป/คน

๘.๓ เป้าหมายเชิงเวลา


ระยะเวลาในการจัดงานจำนวน ๓ วัน ตั้งแต่ ๓๑ พฤษภาคม และ ๑-๒ มิถุนายน ๒๕๕๕

วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
จัดการประชุมและกิจกรรมนานานาชาติ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
- พิธีเปิดการประชุมและกิจกรรมพระพุทธศาสนานานาชาติ
การสัมมนาทางวิชาการระดับนานาชาติ เรื่อง"พระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษยชาติ" (The Buddha's Enlightenment for the Well-Being of Humanity) ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
- Buddhist Wisdom and Reconciliation พุทธปัญญาและความปรองดอง
- การถ่ายภาพหมู่
- การแสดงทางวัฒนธรรมนานาชาติ

วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕
การสัมมนาทางวิชาการระดับนานาชาติ เรื่อง"พระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษยชาติ" (The Buddha's Enlightenment for the Well-Being of Humanity) ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
- Buddhist Wisdom and Environment พุทธปัญญาและสิ่งแวดล้อม
- Buddhist Wisdom and Human Transformation พุทธปัญญาและการปรับเปลี่ยนชีวิตมนุษย์

วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕
- นำเสนอผลสรุปการสัมมนาหัวข้อย่อยทางวิชาการ
- พิธีปิดการฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร
- เดินทางไปร่วมประกอบพิธีธรรมยาตราและเวียนเทียน ณ ลานหน้าองค์พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
- ร่วมเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตภาวนา ถวายพระพรชัยมงคลและถวายพระราชกุศล ๘๐ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

๙. แหล่งที่มาของงบประมาณ


๙.๑ รัฐบาลไทย
๙.๒ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๙.๓ สมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (ICDV)
๙.๔ หน่วยงานภาคเอกชนและผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป



๑๐. ผลที่คาดว่าจะได้รับ


๑๐.๑ ได้ร่วมเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากล สหประชาชาติ พร้อมกับสำนักงานใหญ่ สหประชาชาติ และเฉลิมพระเกียรติ๘๐ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
๑๐.๒ มีความร่วมมืออันดีของชุมชนชาวพุทธและองค์กรชาวพุทธทั่วโลกตั้งแต่ระดับประเทศถึงนานาชาติตามนโยบายของรัฐบาล
๑๐.๓ ได้ร่วมกันสร้างทางเลือกในการประยุกต์ใช้พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ
๑๐.๔ ได้ร่วมกันประกาศหลักการทางพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นอารยธรรมสำคัญของโลกผ่านกิจกรรมทางวิชาการ ศาสนพิธีและวิถีชีวิตชุมชนไปสู่เวทีโลก