เกี่ยวกับ UNDV
การจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาของ การจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก
ผู้บริหาร สสวล.
International Council of the United Nations Day of Vesak
ผู้บริหาร สมพน.
International Association of Buddhist Universities
สำนักงาน
สำนักงาน สสวล. / สมพน.
โครงการ
คำประกาศปฎิญญากรุงเทพมหานคร
ความหมายของตราสัญญลักษณ์
เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง พุทธชยันตี : ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ขององค์พระพุทธเจ้า

องค์ปาฐกถาพิเศษ
พระภาวนาวิเทศ (หลวงพ่อเขมธัมโม)
วัดป่าสันติธรรม เมืองวอริค
มณฑลวอริคเชียร์ ประเทศอังกฤษ


Guest Speaker
Ven Sheng Kai
ดร. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
Symposium Speakers
Rev.Noriaki Kunitomo
ศาสตราจารย์วันชัย วัฒนศัพท์
Prof. Kamaleswar Bhattacharya
Dr. Phil Tan
Prof. Dr. Donald K Swearer
ดร. ตัม ดึ๊ก
  ดร.จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์
Prof. Dr. Keown
พระหยวน ฉี
ศาสตราจารย์ ดร. พระคำหมาย ธัมมสามิ
ศาสตราจารย์สุมานะปาละ กัลมานโกฏะ
Dr Sarah Shaw

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)
แผนผัง มจร
แผนผัง ห้องประชุมและสถานที่จัดงานใน มจร
องค์การสหประชาชาติ (UN)
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
(วัดพระแก้ว)
พุทธมณฑล
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
อยุธยา เมืองมรดกโลก
การบินไทย
โรงแรม & สิ่งอำนวยความสะดวก
Maps of Venues

ข่าวสารถึงอาสาสมัคร
ตำแหน่งที่ต้องการ
ร่วมสมัครเป็นอาสาสมัคร
คำถาม คำตอบ
นโยบายของอาสาสมัคร

สัญญาณถ่ายทอดสด
Press Released
วิดิทัศน์
รูปภาพ
ข้อมูลรูปภาพ
หนังสือ
เพลง
นิทรรศการ
Cultural Show

ข้อมูลคณะทำงาน
Story of each Vesak Celebrations
การเสวนาทางวิชาการ / วิทยากร
History of UN Day of Vesak Celebrations
กำหนดการ
INTERNATIONAL COUNCIL OF UNITED DAYS OF VESAK Executive Council Meeting of ICUNDV
บทความวิชาการ
The International Association of Buddhist
สถานที่จัดกิจกรรม
Officers and Location
ข่าวสาร
The 84th Birthday Anniversary of His Majestythe King & International Celebration on the Occasion of United Nations Day


มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา

Click to Share this Article
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)

แผนผัง มจร

แผนผัง ห้องประชุมและสถานที่จัดงานใน มจร

องค์การสหประชาชาติ (UN)

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
(วัดพระแก้ว)

พุทธมณฑล

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

อยุธยา เมืองมรดกโลก

การบินไทย

โรงแรม & สิ่งอำนวยความสะดวก

Maps of Venues



   ประวัติมหาวิทยาลัย


มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์ ซึ่งสมเด็จ บรมบพิตร พระราชสมภารเจ้า สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๒ มีชื่อเดิมว่า "มหาธาตุวิทยาลัย" และมีพระบรมราชโองการเปลี่ยนนามใหม่ว่า "มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย" เมื่อ วันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๙ โดยมีพระราชประสงค์จะให้เป็นอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติยศของพระองค์สืบไป ดังปรากฏในประกาศพระ ราชปรารภในการก่อพระฤกษ์สังฆิกเสนาศน์ราชวิทยาลัยต่อไปนี้

*พระราชปรารถในการก่อพระฦกษ์สังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัย
*พระพิมลธรรม พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺตเถร) สนองพระราชปรารถ
*ยุคริเริ่มการจัดการศึกษา
*ยุคปรับปรุงและขยายการศึกษา
*ยุครับรองปริญญาบัตรและสถานะของมหาวิทยาลัย

   พระราชปรารถในการก่อพระฦกษ์สังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัย


ศุภมัสดุพระพุทธศาสนกาล เป็นอดีตภาค ล่วงแล้ว ๒๔๓๙ พรรษา ปัตยุบันกาล จันทรคตินิยม จุลศักราช ๑๒๕๘ วานระ สังวัจฉระ ภัทรบทมาศ ชุษณปักษ สับตมีดิถี รวิวาร สุริยคติกาล รัตนโกสินทร์ ศก ๑๑๕ กันยายนมาศ เตรสมะมาสาหะคุณพิเศษ ปริเฉทกาลกำหนด

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฎ บุรุศยรัตนราชรวิวงษ วรุตมพงษบริพัตร วรขัตติย ราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศอุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณี จักรกรีบรมนารถ มหามกุฎราชวรางกูร สุจริตมูล สุสาธิต อรรคอุกฤษฐไพบูลย์บูรพาดูลย์กฤษฎาภินิหารสุภาธิการรังสฤษดิ์ ธัญญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประ นต บาทบงกชยุคล ประสิทธิ สรรพศุภผลอุดมบรมสุขุมาล ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณ อดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิฐ ศักดิ์สมญา พินิตประชานารถ เปรมกระมลขัตติยราชประยูร มูลมุขมาตยาภิรมย์ อุดมเดชาธิการ บริบูรณคุณสาร สยามาทินครวรุฒ เมกราชดิลก มหาปริวารนายก อนันต์มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษศิรินทร อเนกชนนิกร สโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดม บรม ราชสมบัติ นพปดลเสวตฉัตราดิฉัตร ศิริรัตโนปลักษณมหา บรมราชาภิเศกาภิสิต สรรพทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวา มินทร์ มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชโรดม บรมนารถ- ชาติอาชาไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อดุลศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสิตลหฤไทย อโนปไมยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร์ ปรมินทรธรรมิกราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระดำริห์ว่า

จำเดิมแต่ได้เสด็จเถลิง ถวัลยราชสมบัติ บรมราชาภิเศกแล้วมาได้ทรงทนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้ถาวรรุ่งเรืองเจริญขึ้นโดย ลำดับ แต่พระสัทธรรมในพระบรมพุทธสาสนานี้ ย่อมมีเหตุปัจจัยอาศรัยกันแลกัน เมื่อพระปริยัติสัทธรรมเจริญแพร่หลายอยู่ พระ ปฏิบัติสัทธรรม- จึ่งจะเจริญไพบูลได้ เมื่อพระปฏิบัติสัทธรรมไพบูลอยู่ พระปฏิเวทสัทธรรมจึงจะสมบูรณ์ได้ พระปริยัติสัทธรรม ย่อมเป็นรากเหง้าเค้ามูลแห่งพระสาสนา ๆ จะดำรงอยู่แลเจริญขึ้นก็ด้วยพระปริยัติสัทธรรม การที่จะบำรุงพระปริยัติสัทธรรม อัน เป็นรากเหง้าของพระพุทธสาสนาให้ไพศาลบริบูรณ์ยิ่งขึ้น ก็ย่อมอาศรัยการบำรุงให้มีผู้เล่าเรียน แลที่เล่าเรียนให้สะดวกยิ่งขึ้น

การเล่าเรียนพระปริยัติสัทธรรม ที่เป็นไปอยู่ในเวลานั้น ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดการบำรุงทั่วไปทุกพระอาราม แต่ยังหาเป็นอัน นับว่าบริบูรณ์แท้ไม่ เพราะเป็นแต่สถานที่เล่าเรียนในชั้นต้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งวิทยาลัยที่จะเล่าเรียนพระไตรปิฎก แลวิชาชั้นสูงขึ้น ๒ สถาน ๆ หนึ่งเป็นที่เล่าเรียนของพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตินิกาย ให้ตั้งที่วัดบวรนิเวศวรวิหาร พระอารามหลวง พระ ราชทานนามว่า มหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นที่เฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมชนกนารถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกสถานหนึ่ง เป็นที่เล่าเรียนของพระสงฆ์ฝ่าย มหานิกาย ได้ตั้งไว้ที่วัดมหาธาตุราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวงนี้ มีนามว่า "มหาธาตุวิทยาลัย" ได้เปิดการเล่าเรียน แต่วันที่ ๘ พฤศจิกายน รัตนโกสินทร์ ศก ๑๐๘ สืบมา แต่สังฆิกเสนาสน์สำหรับมหาธาตุ ุวิทยาลัยนี้ ยังไม่เป็นที่สมควรแก่การเล่าเรียน ในสมัยที่การเรียนเจริญขึ้นสืบมานี้

จึ่งทรงพระราชดำริห์ที่จะทรงสร้างสังฆิกเสนาสน์สำหรับมหาธาตุวิทยาลัยนี้ขึ้นใหม่ให้เป็นสถานอันสมควรแก่การเล่าเรียน การนี้ยังอยู่ในระหว่างพระบรมราชดำริห์ ยังหาทันตลอดไม่พอประจวบ เวลาที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งมีพระราชประสูติกาล ณ วันพฤหัสบดี เดือนเจ็ดแรมสิบสองค่ำ ปีขาน สัมฤทธิศกจุลศักราช ๑๒๔๐ ตรงกับ วันที่ ๒๗ มิถุนายน รัตนโกสินทร์ศก ๙๗ เสด็จสวรรคต ล่วงไปในวันที่ ๔ มกราคม รัตนโกสินทร์ ๑๑๓ ตรงกับวันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น เก้าค่ำ ปีมะเมีย ฉศก จุลศักราช ๑๒๕๖

จึงทรงพระราชดำริห์ว่า โดยราชประเพณีที่มีมาแต่ก่อน เมื่อพระบรมวงศ์ที่ได้ดำรงพระเกียรติยศชั้นสูงสวรรคต ก็ได้เคย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำพระเมรุมาศขนาดใหญ่ ตามพระเกียรติยศ ณ ท้องสนามหลวง เพื่อเชิญพระศพไปประดิษฐาน พระราชทานเพลิง ณ พระเมรุมาศนั้น ก็การทำพระเมรุมาศขนาดใหญ่เช่นเคยมานั้น เป็นการเปลืองพระราชทรัพย์ ไปในสิ่งซึ่งมิได ้ถาวร แลมิได้เป็นประโยชน์สืบเนื่องไปนาน เป็นการลำบากแก่คนเป็นอันมาก แลได้ประโยชน์ชั่วสมัยหนึ่ง แล้วก็อันตรธานไป

ครั้งนี้มีสมัยที่จะต้องทำการพระเมรุมาศขนาดใหญ่นั้นขึ้น ควรจะน้อมการทำพระเมรุมาศนั้นมารวมลงในการพระราชกุศล ส่วนสาสนูปถัมภนกิจวิทยาทาน วิหารทานการก่อสร้างสังฆิกเสนาสน์ สำหรับมหาธาตุวิทยาลัยนี้ ให้พระราชกุศลบุญราศีส่วน ทักษิณาทาน เนื่องในภารถาวรวัตถสถาน เป็นที่ตั้งแห่งสาสนธรรมสัมมาปฏิบัติแห่งพุทธบริษัท สัปปุริสชนสำเร็จประโยชน์ อิฐวิบูล ผลสืบเนื่องไปตลอดกาลนานแล จะได้เป็นเหตุให้งดเว้นการทำพระเมรุมาศขนาดใหญ่ อันเป็นเครื่องเปลืองประโยชน์เปล่าดัง พรรณนามาแล้วนั้น

จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ดำรัสสั่งให้พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัตติวงษ์ เป็นผู้บัญชาการให้เจ้า พนักงาน ทำการก่อสร้าง วิทยาลัยยอดปรางค์ ๓ ยอด ล้วนแล้วด้วยถาวรภัณฑ์ อันมีกำหนดส่วนยาวแต่ทิศเหนือมาทิศใต้ ๘๘ วา ส่วนกว้างในทิศเหนือ แลทิศใต้นั้น ส่วนละ ๘ วา ๓ ศอก ส่วนกลางตั้งแต่ทิศตะวันตก มาทิศตะวันออก ๒๕ วา ส่วนกว้างในมุขใหญ่ ๑๑ วา ส่วนสูงในร่วมมุขยอดใหญ่นั้น ๒๒ วา ในร่วมยอดน้อยทั้ง ๒ แห่งละ ๑๖ วา ด้วยพระราชทรัพย์ ๕,๔๐๐ ชั่ง

เพื่อได้เป็นที่เชิญพระบรมศพ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร มาประดิษฐานบำเพ็ญ พระราชกุศล ทักษิณาทานมีการมหกรรมแล้ว จะได้เชิญพระบรมศพไปประดิษฐาน ณ พระเมรุมาศขนาดน้อย ณ ท้องสนามหลวง พระราชทานเพลิง

เมื่อการบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนนี้เสร็จ แล้วจะได้ทรงพระราชอุทิศถวายถาวรวัตถุนี้ เป็นสังฆิกเสนาสน์ สำหรับมหาธาตุ วิทยาลัย เพื่อเปนที่เล่าเรียนพระปริยัติสัทธรรมแลวิชาชั้นสูงสืบไปภายหน้า พระราชทานเปลี่ยนนามใหม่ว่า "มหาจุฬาลงกรณ์ราช วิทยาลัย" เพื่อให้ เป็นที่เฉลิมพระเกียรติยศสืบไป

พระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัตติวงษ์ ได้ทรงบัญชาการให้เจ้าพนักงานจับการก่อสร้างจำเดิมแต่การรื้อขนปราบ แผ้ว ส่วนที่ควรทำนั้น มาแต่วันที่ ๒๔ เมษายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๔ บัดนี้ การทำรากสังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัยนี้ แล้วเสร็จควร จะวางศิลาฤกษ์ได้ จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บรรจุคำประกาศแสดงพระพระราชดำริห์อันนี้ แลแผนที่รูปถ่ายตัวอย่างสัง ฆิกเสนาสน์นั้น กับหนังสือพิมพ์ราชกิจจานุเบกษา อันเป็นหนังสือพิมพ์ราชการในสมัยนี้ เลือกคัดแต่ฉบับที่สมควร แลเหรียญที่รฤกใน การพระราชพิธีต่าง ๆ ทั้งทองเงิน แลเบี้ยทองแดงซึ่งใช้อยู่ปัจจุบันนี้ ลงในหีบศิลาพระฤกษ์แล้วโปรดเกล้าฯ ให้นิมนต์พระสงฆ์ ๑๐ รูป มาเจริญพระพุทธมนต์

ในที่นี้ ณ เวลาเย็นวันที่ ๑๒ กันยายน รัตนโกสินทร์ ๑๑๕ รุ่งขึ้นเวลาเช้าวันที่ ๑๓ กันยายน พระสงฆ์ได้รับพระราชทานฉัน เวลาบ่ายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยพระบรมวงษานุวงษ์ ข้าทูลลอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยโดยเสด็จพระราชดำเนินมา ณ ที่ประชุมนี้ ครั้นถึงกำหนดศุภมหามงคลฤกษ ทรงวางศิลาพระฤกษ และอิฐปิดทอง ปิดเงิน ปิดนาค ซึ่งเปน อิฐฤกษลง ณ ที่อัน จะได้ก่อสังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัยเปนประถม โดยนิยมแห่งโบราณราชประเพณีแล้ว นายช่างจะได้ทำการต่อไปให้สำเร็จโดยพระ บรมราชประสงค์

ขอผลแห่งพระบรมราชประสงค์ซึ่งจะทรงบำรุงพระพุทธศาสนาให้สถิตย์สถาพร และจะให้วิทยาการแพร่หลาย อันเป็นทาง มาแห่ง ประโยชน์ความศุขของมหาชนทั่วไปนี้ จงสำเร็จ โดยพระบรมราชประสงค์ จงทุกประการ เทอญ. (คัดมาจากราชกิจจา นุเบกษา เล่มที่ ๑๓ แผ่นที่ ๒๕ วันที่ ๒๐ กันยายน ร.ศ. ๑๑๕ หน้า ๒๖๕ - ๒๖๘)

   พระพิมลธรรม พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺตเถร) สนองพระราชปรารถ


ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺตเถร) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ รูปที่ ๑๕ มีความประสงค์จะ ปรับปรุงการศึกษา ภายในสถาบันการศึกษาที่เป็นอยู่ในขณะนั้นให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น จึงมอบหมายให้ พระมหาบุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิ ป.ธ.๘ (ปัจจุบันดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมมหาวีรานุวัตร) อาจารย์แห่งมหาธาตุวิทยาลัย และบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาธาตุวิทยาลัย ซึ่งกำลังปรับปรุงกิจการห้องสมุดของมหาธาตุวิทยาลัย ได้ช่วยรวบรวมความเป็นมาด้านการจัดการศึกษาของมหาธาตุวิทยาลัยทั้ง ปวง เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานทางเอกสารของมหาธาตุวิทยาลัยสืบไป เมื่อพระมหาบุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิ ได้ไปติดต่อกับนายธนิต อยู่โพธิ์ หัวหน้าแผนกวรรณคดี ได้ให้ความอนุเคราะห์ด้วยดี และได้ ขอความร่วมมือจากนายยิ้ม ปัณฑยางกูร หัวหน้ากองจดหมายเหตุ กรมศิลปากร ช่วยอำนวยความสะดวกอีกต่อหนึ่ง และได้พบ เอกสารสำคัญที่เกี่ยวกับ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เอกสารที่พบนี้ คือ ลายพระหัตถ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีไปถึงหม่อมเจ้าประภากร ลงวันที่ ๒๓ กันยายน ร.ศ. ๑๑๕ ดังจะขออัญเชิญ สำเนาลายพระราชหัตถ์ มาแสดงดังต่อไปนี้

เมื่อพระมหาบุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิ ได้พบลายพระหัตถ์นี้แล้ว ได้นำสำเนาลายพระหัตถ์ไปถวายพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺตเถร) ซึ่ง พระพิมลธรรมได้นำเรื่องนี้ไปปรึกษาหารือกับพระเถรานุเถระในวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ และต่างวัด โดยทุกรูปเห็นพ้องต้อง กันว่า สมควร ที่จะได้จัดการศึกษาของพระสงฆ์ให้เป็นไปตามพระราชปณิธานที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ได้ทรงพระราชทานไว้* (* ความนี้ปรากฏในส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ชื่อเรื่อง "พัฒนาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย" ของ นายมนัส เกิดปรางค์, พ.ศ. ๒๕๒๗.) จนกระทั่งในที่สุดพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺตเถร) จึงได้มีหนังสือนิมนต์พระเถระทั้ง จากวัดมหาธาตุ และวัดอื่นๆ จำนวน ๕๗ รูป และฆราวาสอีกจำนวนหนึ่งมาประชุมกัน ณ หอปริยัติ วัดมหาธาตุฯ ในวันจันทร์ที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๔๘๙ เวลา ๑๗.๐๐ น. โดยถือเป็นการประชุมที่ด่วนมาก และลับเฉพาะ จะสังเกตเห็นได้ชัดก็คือหนังสือนัดประชุม ออก เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม เพื่อนิมนต์เข้าประชุมวันที่ ๒๓ ธันวาคม เป็นการออกหนังสือเชิญล่วงหน้าเพียงหนึ่งวันเท่านั้น ดังปรากฏ ตัวอย่าง หนังสือเชิญประชุม ดังนี้

ผู้ที่ได้รับอาราธนาหรือเชิญเข้าประชุมครั้งนี้ ประกอบด้วยทั้งฝ่ายบรรพชิต ๗ รูป และฆราวาส ๔ คน ซึ่งทุกท่านจะได้รับ เอกสารบันทึกโครงการปรับปรุงมหาธาตุวิทยาลัย หรือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดทำโดย หลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งหลวงวิจิตร วาทการให้ถือว่าบันทึกนี้เป็นความลับ และอ่านได้เฉพาะผู้ที่ได้รับเชิญมาประชุมเท่านั้น

   ยุคริเริ่มการจัดการศึกษา


เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้านการพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีความสามารถในการรักษา และเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคงยิ่ง ขึ้น พระพิมลธรรม ( ช้อย ฐานทัตตมหาเถร) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ในสมัยนั้นจึงจัดประชุมพระเถรานุเถระฝ่ายมหา นิกาย จำนวน ๕๗ รูป เมื่อวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๐ และประกาศให้มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ดำเนินการจัดการศึกษาพระ ไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงในระดับมหาวิทยาลัย เปิดสอนระดับปริญญาตรี คณะพุทธศาสตร์เป็นคณะแรกเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ และมีพัฒนาการตามลำดับ ดังนี้

• พ.ศ. ๒๕๐๐ ปรับเปลี่ยนระบบการวัดผลมาเป็นระบบหน่วยกิต โดยกำหนดให้นิสิตต้องศึกษา อย่างน้อย ๑๒๖ หน่วยกิต และปฏิบัติศาสนกิจ ๑ ปีก่อนรับปริญญาบัตร
• พ.ศ. ๒๕๐๕ เปิดสอนคณะครุศาสตร์
• พ.ศ. ๒๕๐๖ เปิดสอนหลักสูตรแผนกอบรมครูศาสนศึกษา ระดับประกาศนียบัตรและเปิดสอน คณะเอเซียอาคเณย์และ เปลี่ยนเป็นคณะมานุษยสงเคราะห์ศาสตร์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖
• พ.ศ. ๒๕๑๒ ปรับหลักสูตรแผนกอบรมครูศาสนศึกษาเป็นวิทยาลัยครูศาสนศึกษา และปรับเปลี่ยนหน่วยกิตเป็น ๒๐๐ หน่วยกิต

การจัดการเรียนการสอนช่วง ๒ ทศวรรษแรก ยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากคณะสงฆ์และรัฐเท่าที่ควร ทำให้ประสบปัญหา ด้านสถานะของมหาวิทยาลัย และงบประมาณเป็นอย่างมาก แต่ก็สามารถจัดการศึกษามาได้อย่างต่อเนื่อง

   ยุคปรับปรุงและขยายการศึกษา


• พ.ศ. ๒๕๑๒ คณะสงฆ์ โดยมหาเถรสมาคม ได้ออกคำสั่งมหาเถรสมาคม เรื่อง " การศึกษาของมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๑๒ " และ เรื่อง " การศึกษาของสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๑๒ " คำสั่งทั้ง ๒ ฉบับนี้ ส่งผลให้มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มี สถานะเป็น สถาบันการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย โดยสมบูรณ์

• พ.ศ. ๒๕๒๑ เริ่มขยายการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาไปยังส่วนภูมิภาค เริ่มตั้งวิทยาเขตแห่งแรกที่ จังหวัดหนองคาย และได้ขยายไปยังจังหวัดอื่นๆ ที่มีความพร้อมด้านบุคลากร งบประมาณ อาคารสถานที่ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีวิทยาเขตใน กำกับดูแล ทั่วประเทศ ๑๐ แห่ง วิทยาลัยสงฆ์ ๔ แห่ง และ ศูนย์การศึกษา ๑ แห่ง คือ
o วิทยาเขตหนองคาย ตั้งอยู่ที่วัดศรีษะเกษ อ. เมือง จ. หนองคาย จัดตั้งเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๑
o วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ที่วัดแจ้ง อ. เมือง จ. นครศรีธรรมราช จัดตั้งเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
o วิทยาเขตเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่วัดสวนดอก อ. เมือง จ. เชียงใหม่ จัดตั้งเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๗
o วิทยาเขตขอนแก่น ตั้งอยู่ที่วัดธาตุเมืองเก่า อ. เมือง จ. ขอนแก่น จัดตั้งเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๙
o วิทยาเขตนครราชสีมา ตั้งอยู่ที่บ้านหัวถนน ถนนชาติพัฒนา ตำบลหัวทะเล อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ ๓๐๐๐๐ โทรศัพท์ (๐๔๔) ๒๕๔๘๙๑, โทรสาร ๒๖๔๕๖๐ จัดตั้งเมื่อวัน ที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๙
o วิทยาเขตอุบลราชธานี ตั้งอยู่ที่วัดมหาวนาราม อ. เมือง จ. อุบลราชธานี จัดตั้ง เมื่อ เดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐
o วิทยาเขตแพร่ ตั้งอยู่ที่วัดพระบาทมิ่งเมือง อ. เมือง จ. แพร่ จัดตั้งเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๐
o วิทยาเขตสุรินทร์ ตั้งอยู่ที่วัดศาลาลอย อ. เมือง จ. สุรินทร์ จัดตั้งเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๐
o วิทยาเขตพะเยา ตั้งอยู่ที่วัดศรีโคมคำ อ. เมือง จ. พะเยา จัดตั้งเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคมพ.ศ. ๒๕๓๔
o วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส ตั้งอยู่ที่วัดมหาสวัสดิ์นาคพุฒาราม อ. พุทธมณฑล จ. นครปฐม จัดตั้งเมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕

• พ.ศ. ๒๕๒๖ มหาวิทยาลัยได้ปรับปรุงโครงสร้างหลักสูตรระดับปริญญาตรีใหม่ โดยลดจำนวนหน่วยกิตจาก ๒๐๐ หน่วย กิต ให้เหลือเพียง ๑๕๐ หน่วยกิต และปรับปรุงระบบการบริหารวิชาการใหม่ โดยแบ่งออก เป็น ๔ คณะ คือ คณะพุทธ ศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ และ คณะสังคมศาสตร์

   ยุครับรองปริญญาบัตรและสถานะของมหาวิทยาลัย


• พ.ศ. ๒๕๒๗ รัฐบาล โดยการนำของ ฯพณฯ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ได้ดำเนินการ เสนอร่างพระราชบัญญัติกำหนด วิทยฐานะ ผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา โดยรัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงลง พระปรมาภิไธย แล้วประกาศใช้เป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นต้นมา มีผลทำให้ผู้สำเร็จการศึกษา จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีศักดิ์และสิทธิแห่งปริญญา เช่นเดียวกับผู้สำเร็จการศึกษาในระดับเดียวกันจากสถาบันการ ศึกษาอื่นๆ ที่รัฐให้การรับรอง

• พ.ศ. ๒๕๓๔ มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งศูนย์การศึกษาที่วัดศรีสุดาราม เขตบางขุนนนท์ กรุงเทพฯ ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ ศึกษาของนิสิตปีที่ ๑ - ๔ ของคณะครุศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์

• พ.ศ. ๒๕๓๕ คณะกรรมการการศึกษาของสงฆ์ ซึ่งมีสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานได้ออกระเบียบคณะกรรมการการ ศึกษาของสงฆ์ ว่าด้วยการจัดการศึกษา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยมหาวิทยาลัยสามารถจัดการศึกษา และการบริหารให้เป็นไปตามระบบสากล (คณะเอเซียอาคเณย์และเปลี่ยนเป็นคณะมานุษยสงเคราะห์ศาสตร์เมื่อพ.ศ.๒๕๑๖)

• พ.ศ. ๒๕๔๐ แม้มหาวิทยาลัยจะมี พ.ร.บ. กำหนดวิทยฐานะของผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๒๗ แล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีการรับรองสถานะภาพ ความเป็นนิติบุคคลของมหาวิทยาลัยเหมือนมหาวิทยาลัยทั่วไป จึงทำให้ไม่สามารถขยาย การจัดการศึกษาในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ตามวัตถุประสงค์และนโยบายของมหาวิทยาลัยได้

ดังนั้น จึงมีความพยายามในการผลักดันให้มีการดำเนินการตามกฎหมายหรือพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเป็นการเฉพาะ โดยใช้เวลาในการดำเนินการเป็นเวลานานถึง ๕๐ ปี จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๔๐ รัฐบาล โดยการนำของ ฯพณฯ พล.อ ชวลิต ยงใจยุทธ ได้เสนอให้รัฐสภาตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย เดชมหาราช ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๐ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ส่งผลให้มหาวิทยาลัย มีพระราชบัญญัติรับรองสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ในกำกับของรัฐบาล และเป็น นิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ เน้นจัดการศึกษาวิชาการด้านพระพุทธศาสนา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา