เกี่ยวกับ UNDV
การจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาของ การจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก
ผู้บริหาร สสวล.
International Council of the United Nations Day of Vesak
ผู้บริหาร สมพน.
International Association of Buddhist Universities
สำนักงาน
สำนักงาน สสวล. / สมพน.
โครงการ
คำประกาศปฎิญญากรุงเทพมหานคร
ความหมายของตราสัญญลักษณ์
เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง พุทธชยันตี : ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ขององค์พระพุทธเจ้า

องค์ปาฐกถาพิเศษ
พระภาวนาวิเทศ (หลวงพ่อเขมธัมโม)
วัดป่าสันติธรรม เมืองวอริค
มณฑลวอริคเชียร์ ประเทศอังกฤษ


Guest Speaker
Ven Sheng Kai
ดร. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
Symposium Speakers
Rev.Noriaki Kunitomo
ศาสตราจารย์วันชัย วัฒนศัพท์
Prof. Kamaleswar Bhattacharya
Dr. Phil Tan
Prof. Dr. Donald K Swearer
ดร. ตัม ดึ๊ก
  ดร.จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์
Prof. Dr. Keown
พระหยวน ฉี
ศาสตราจารย์ ดร. พระคำหมาย ธัมมสามิ
ศาสตราจารย์สุมานะปาละ กัลมานโกฏะ
Dr Sarah Shaw

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)
แผนผัง มจร
แผนผัง ห้องประชุมและสถานที่จัดงานใน มจร
องค์การสหประชาชาติ (UN)
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
(วัดพระแก้ว)
พุทธมณฑล
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
อยุธยา เมืองมรดกโลก
การบินไทย
โรงแรม & สิ่งอำนวยความสะดวก
Maps of Venues

ข่าวสารถึงอาสาสมัคร
ตำแหน่งที่ต้องการ
ร่วมสมัครเป็นอาสาสมัคร
คำถาม คำตอบ
นโยบายของอาสาสมัคร

สัญญาณถ่ายทอดสด
Press Released
วิดิทัศน์
รูปภาพ
ข้อมูลรูปภาพ
หนังสือ
เพลง
นิทรรศการ
Cultural Show

ข้อมูลคณะทำงาน
Story of each Vesak Celebrations
การเสวนาทางวิชาการ / วิทยากร
History of UN Day of Vesak Celebrations
กำหนดการ
INTERNATIONAL COUNCIL OF UNITED DAYS OF VESAK Executive Council Meeting of ICUNDV
บทความวิชาการ
The International Association of Buddhist
สถานที่จัดกิจกรรม
Officers and Location
ข่าวสาร
The 84th Birthday Anniversary of His Majestythe King & International Celebration on the Occasion of United Nations Day


พุทธมณฑล

Click to Share this Article
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)

แผนผัง มจร

แผนผัง ห้องประชุมและสถานที่จัดงานใน มจร

องค์การสหประชาชาติ (UN)

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
(วัดพระแก้ว)

พุทธมณฑล

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

อยุธยา เมืองมรดกโลก

การบินไทย

โรงแรม & สิ่งอำนวยความสะดวก

Maps of Venues



พุทธมณฑล เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา อยู่ในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีเนื้อที่ 2,500 ไร่ สร้างขึ้นเพื่อฉลองวาระกึ่งพุทธกาล เมื่อ พ.ศ. 2500มีพระพุทธรูปปางลีลาประจำพุทธมณฑล เรียกว่า พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ ออกแบบโดย ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีพระพุทธรูปนี้มีความโดดเด่นทางผ้าจีวรที่พลิ้วเหมือนจริง (พระพุทธรูปนี้สร้างเสร็จและฉลอง เมื่อ พ.ศ. 2525 คราวสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี)

พุทธมณฑลในปัจจุบันนอกจากจะเป็นศูนย์รวมการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาและจัดประเพณีกิจกรรมต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปพักผ่อนได้อีกด้วย


   สิ่งก่อสร้าง


วิหารพุทธมณฑล เป็นอาคารชั้นเดียว สร้างแบบสถาปัตยกรรมไทยตามแบบวิหารของวัดราชาธิราช ผนังวิหารทำเป็น 2 ชั้น เพื่อให้ประตูหน้าต่าง เลื่อนเข้าภายในกำแพงได้ ภายในปูด้วยกระเบื้องหินอ่อน หลังคามุงด้วยกระเบื้องลวดลายภายนอกเป็นประติมากรรมรูปพระพุทธรูป 8 องค์ และพระโพธิสัตว์ 2 องค์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป 25 พุทธศตวรรษขนาด 2,500 มม. ดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2518

สังเวชนียสถาน 4 ตำบล

ตำหนักสมเด็จพระสังฆราช เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมประยุกต์ หันหน้าไปทางทิศเหนือ ก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2524
ที่พักสงฆ์อาคันตุกะ อยู่ตรงข้ามกับตำหนักสมเด็จพระสังฆราช มีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์สองชั้น สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2526

หอประชุม สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประชุมทางพระพุทธศาสนา และให้ความรู้ อาคารแบบสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์สองชั้น ชั้นล่างด้านทิศเหนือใช้เป็นสำนักงานพุทธมณฑล สร้างเสร็จ พ.ศ. 2529

หอกลอง สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานกลองชัยขนาดใหญ่ ตัวกลองทำด้วยไม้ขนุน และหนังควายเผือก เส้นผ่าศูนย์กลางมีขนาด 1.60 เมตร ผู้จัดทำกลองคือ พระพิชัย ธรรมจาโร วัดบัลลังก์ศิลาอาสน์ อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2526

สำนักงานพุทธมณฑล ลักษณะอาคารแบบสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ สร้างเสร็จ พ.ศ. 2525

อาคารประชาสัมพันธ์ สถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2525

ศาลาราย สร้างตามแนวทางเท้าวงกลมรอบองค์พระประธานมีทั้งหมด 20 หลัง ด้านข้างโปร่ง

ศาลาปฏิบัติกรรมฐาน เป็นอาคารเพื่อใช้ปฏิบัติกรรมฐาน อยู่บริเวณสวนเวฬุวัน เป็นรูป 6 เหลี่ยม เชื่อมติดต่อกันทั้งหมด 8 หลัง

พิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนา อาคารทรงไทยเป็นรูปกลมวงแหวนด้านนอก แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกแสดงโบราณวัตถุต่าง ๆ ส่วนที่ 2 จัดนิทรรศการและการบรรยาย ส่วนที่ 3 ส่วนบริการ สุขา ห้องน้ำ ฯ

หอสมุดพระพุทธศาสนามหาสิรินาถ (นามพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ) ห้องอ่านหนังสือจุได้ 500 คน มีหนังสือประมาณ 500,000 เล่ม เก็บหนังสือบนเพดานได้อีก หนึ่งล้านเล่ม วัดปากน้ำและสมาคมศิษย์หลวงพ่อวัดปากน้ำ บริจาคเงินค่าก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 250 ล้านบาท เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ ที่ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ

มหาวิหารประดิษฐานพระไตรปิฎกหินอ่อน สถาปัตยกรรมไทยรูปทรงจตุรมุข มีพระเจดีย์ 9 ยอด ประดิษฐานในท่ามกลาง และเป็นที่จารึกพระไตรปิฎกหินอ่อน ขนาด 1.10 x 2.00 เมตร จำนวน 1,418 แผ่น มีภาพวาดพระพุทธประวัติอยู่ด้านบนโดยรอบ เริ่มสร้างปี พ.ศ. 2532 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2541

โรงอาหาร เป็นแบบสถาปัตยกรรมไทย บริการด้านอาหารเมื่อมีกิจกรรมในพุทธมณฑล

หอฉัน ลักษณะสถาปัตยกรรมไทย ใช้เป็นที่อบรมศีลธรรม จริยธรรม ของนักเรียน นักศึกษาที่มาพักแรมเข้าค่ายพุทธบุตร

ท่าเทียบเรือ อยู่ด้านทิศเหนือ และทิศใต้ ด้านหลังใช้เป็นท่าขึ้นลงเรือ ซึ่งเรือแล่นไปได้รอบพุทธมณฑล

สระน้ำขนาดใหญ่ อยู่ด้านหลังวิหาร มีขอบสระใช้ประกอบกิจกรรมทางศาสนา หรือลอยกระทง

ศาลาอำนวยการ ใช้เป็นที่รับบริจาค ขายดอกไม้ธูปเทียน และวัตถุมงคล

ศาลาบำเพ็ญกุศล อยู่ด้านหลังศาลาอำนวยการใกล้องค์พระ

สำนักงานย่อย อยู่บริเวณสวนเวฬุวัน เป็นที่ทำการของเจ้าหน้าที่

ศาลาสรีรสราญ ห้องสุขา เรือนแถว ที่พักของเจ้าหน้าที่ป้อมยาม มี 8 หลัง