Click to Share this Article
|
|
|
สดจากงาน เฉลิมฉลอง "พุทธชยันตี : ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ขององค์พระพุทธเจ้า" |
|
|
For the events of Buddhajayanti:
The Celebration of 2600 Years of Buddha's Enlightenment. |
|
|
ภาพวิดิทัศน์เหตุการณ์สำคัญ |
|
|
|
Hi-Resolution Photo |
|
|
จากงาน เฉลิมฉลอง "พุทธชยันตี : ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ขององค์พระพุทธเจ้า" |
|
|
|
|
From 13 countries to celebrate
The Celebration of 2,600 Years of
Buddha's Enlightenment. |
|
|
|
เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒ ผู้แทน ๓๔ ประเทศได้เสนอต่อที่ประชุมสมัชชา
สหประชาชาติให้วันวิสาขบูชา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนพฤษภาคม เป็นวันสำคัญสากลของโลก
และขอให้มีการจัดงานฉลองที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติและสำนักงานประจำ
ภูมิภาคต่างๆ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้มีมติรับรองตามนั้น (ในสมัยที่ ๕๔ วาระที่
๑๗๔) ดังนั้น วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก จึงได้ก่อกำเนิดขึ้นในปี ๒๕๔๓ ด้วยความ
ร่วมมือของชาวพุทธทุกนิกาย
เพื่ออนุวัตรตามมติที่ประชุมสหประชาชาติ พวกเราจาก ๘๕ ประเทศและภูมิภาค จึง
ได้เดินทางมาร่วมงานพุทธชยันตี ฉลอง ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ถวายพระพร
แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา และ
แด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราสฯ สยามมกุฏราชกุมาร ในวโรกาสเฉลิมพระชนมายุ ๖๐ พรรษา
พร้อมกับเข้าร่วมประชุมสมาคมมหาวิทยาลัยทางพระพุทธศาสนานานาชาติ ครัง้ ที่ ๒ ระหว่าง
วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยมีเจ้าภาพหลักคือ มหาวิทยาลัยมหา
จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งรัฐบาลไทยให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยความเห็นชอบของ
มหาเถรสมาคมแห่งประเทศไทย
๑.ด้วยตระหนักว่า การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าและคำสัง่ สอนของพระองค์เมื่อ ๒๖๐๐
ปีที่ผ่านมา มีผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อมนุษยชาติทัว่ ทัง้ โลก ในการปรับเปลี่ยนชีวิตมนุษย์ พวก
เราจึงเพียรพยายามอย่างไม่หยุดหย่อน ในการปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์แปด และเผยแผ่
หลักคำสอนเรื่องสันติภาพแก่ชาวโลก
๒.ด้วยตระหนักว่า ความขัดแย้งในโลกมีความซับซ้อนหลายมิติ คือมิติทางด้าน
บทบาททางสังคม มิติทางด้านปฏิสัมพันธ์แห่งความรับผิดชอบทางด้านสังคม และมิติทางด้าน
การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ พวกเราจึงเรียกร้องให้ทุกรัฐบาลทัว่ โลกเป็นนักปฏิบัติจริง และ
ส่งเสริมการอภัยกัน โดยช่วยกันให้ยุติความขัดแย้งทางสังคมและการเมืองในโลก โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งชาวพุทธโลกต้องนำเอาการส่งเสริมเรื่องสันติภาพและความปรองดองกันไปใช้ทัว่ โลก
โดยประยุกต์ใช้คำสัง่ สอนในพระพุทธศาสนาเรื่องการให้อภัย อหิงสา กรุณาและขันติธรรมอย่าง
ชาญฉลาด และทำงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยควบคุมธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความต้องการไม่
สิ้นสุด, มีความเกลียดชังกันและความไม่รู้ เพื่อสร้างสังคมที่บูชาคุณค่าของมนุษย์
๓.ด้วยตระหนักถึงการเพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อนของอุบัติภัยด้านสิ่งแวดล้อมใน
โลก พวกเราจึงส่งเสริมให้ตระหนักรู้ถึงการพึ่งพากันระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมทาง
ธรรมชาติตามหลักปฏิจจสมุปบาทให้มากยิ่งขึ้น
๔.เพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนชีวิตมนุษย์ในสังคม ทัง้ ทางด้านจิตใจ จริยธรรม และ
สติปญั ญา พวกเราจึงส่งเสริมให้มีการปฏิบัติกัมมัฏฐาน ซึ่งพระพุทธศาสนาทุกนิกายได้อนุรักษ์
สืบทอดมาอย่างหลากหลาย
๕. เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และให้
การสนับสนุนอย่างเป็นเอกฉันท์ ในการตัง้ ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก พวกเราจึงรับรองและ
ยินดีต่อผลสำเร็จของการประชุมโต๊ะกลม ซึ่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและ
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติร่วมกันจัดขึ้น เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๕ ณ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และให้
ดำเนินการตามมติในการก่อตัง้ ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลกซึ่งมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือสร้าง
เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสำหรับชาวพุทธโลก ณ พุทธมณฑลให้เป็นจริงขึ้นมา พวกเราจึง
บันทึกว่าได้ร่วมกันประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เพื่อสร้างอาคารของศูนย์กลางพระพุทธศาสนา
โลกขึ้น
๖. ด้วยตระหนักถึงความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ระหว่างสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก
กับสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ พวกเราจึงยินดีต่อการบรรลุผลตาม
วัตถุประสงค์ของการประชุมใหญ่ครัง้ ที่ ๒ ของสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ
ที่ใช้หัวข้อการประชุมว่าด้วยพุทธปรัชญาและแนวทางการปฏิบัติ โดยอาศัยกระบวนการของ
การปรึกษา การอภิปราย และความร่วมมือกันทางด้านวิชาการ
๗.พวกเราจะธำรงรักษาและส่งเสริมความก้าวหน้าของโครงการสำคัญ ๒ โครงการ
เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญของโลก คือโครงการพระไตรปิฎกฉบับสากล และโครงการ
จัดทำสหบรรณานุกรมตำราทางพระพุทธศาสนา
๘.พวกเราขอยกย่องความร่วมมือกันขององค์การยูเนสโก รัฐบาลประเทศเนปาล
ภาคธุรกิจ และองค์กรเอกชนต่างๆ ในการเสนอมาตรการให้มีการสอดส่องดูแล และลดมลภาวะ
ทางอากาศ ณ ลุมพินีสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า และแหล่งมรดกโลกที่ได้รับการขึ้น
ทะเบียนแล้ว
ปฏิญญาการประชุมชาวพุทธนานาชาติ ครัง้ ที่ ๙
ประกาศ ณ วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๕
|