เกี่ยวกับ UNDV
การจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาของ การจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก
คณะกรรมการวิสาขบูชา นานาชาติ
International Council of the United Nations Day of Vesak
ผู้บริหาร สมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ
International Association of Buddhist Universities
สำนักงาน
สำนักงาน สสวล. / สมพน.
โครงการ
หลักการและเหตุผล
คำประกาศปฎิญญากรุงเทพมหานคร
เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก
 

ปาฐกถา เรื่อง :
การศึกษากับความเป็นพลเมืองโลก: มุมมองพระพุทธศาสนา
องค์ปาฐกถาพิเศษ
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ


ผู้ร่วมเสวนา
Venerable Professor Mahinda Deegalle
Most Ven. Bhikkuni SHI RURUI
Jack Miller
Jamie Cresswell

Moderators
Venerable Assoc. Prof. Phra Sigambhirayan, Ph.D.
Venerable Phra Khammai Dhammasami
การเสวนาทางวิชาการเรื่อง :
พระสงฆ์กับการส่งเสริมการศึกษาและคุณค่าความเป็นมนุษย์
ผู้ร่วมเสวนา
Venerable Ashin Nyanissara
Venerable Seck Kwang Phing
Venerable Phramaha Anilaman Dhammasakiyo, Ph.D
SUAH KIM (Bhikkhuni Soun )
Prof. Chandima Wijebandara

Moderators
Venerable Dr. Tampalawela Dhammaratana
Phra Rajavaramuni
 

สาส์นจาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม


สารจาก อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประธานสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ ประธานสมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙,Ph.D)
ศาสตราจารย์,ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์,เจ้าคณะภาค ๒
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


สารจากเลขาธิการสหประชาชาติ
บัน คิ-มูน


สารจากผู้อำนวยการทั่วไป องค์การร่วมมือทางการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมระหว่างประเทศ (ยูเนสโก้)
มิส ไอรีน่า โบโคว่า


สารจากประธานองคมนตรี แห่งราชอาณาจักรไทย
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
สารจากนายกรัฐมนตรี แห่งราชอาณาจักรไทย
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร


สารจากนายกรัฐมนตรีออสเตรีย
จูเลีย ไอลีน กิลลาร์ด


สารจากนายกรัฐมนตรีบังคลาเทศ
ชีค ฮาสินา


สารจากมหาเถรสมาคม


สารจากคณะรัฐมนตรี


สารจากสถานทูตและสถานกงสุลต่างประเทศในประเทศไทย


สารจากบุคคลสำคัญ


สารจากหน่วยงาน องค์กร ต่างๆ
 

องค์การสหประชาชาติ (UN)
Information
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)
พุทธมณฑล
โรงแรม & สิ่งอำนวยความสะดวก
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
(วัดพระแก้ว)
พระนครศรีอยุธยา เมืองมรดกโลก

ข่าวสารถึงอาสาสมัคร
เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก ๒๑ - ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๖
ตำแหน่งที่ต้องการ
Do you have what it takes to be a Vesak Day Celebration Volunteer?
ร่วมสมัครเป็นอาสาสมัคร
Once in a lifetime Opportunity
คำถาม คำตอบ
Frequently Asked Questions About Vesak Day Celebration Volunteer
นโยบายของอาสาสมัคร
Policy on volunteering
 

สัญญาณถ่ายทอดสด
เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก ๒๑ - ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๖
วิดิทัศน์
ภาพวิดิทัศน์เหตุการณ์สำคัญ
เอกสารเผยแพร่งาน
รวบรวมเอกสาร ประจำปี ๒๕๕๖
รูปภาพ
เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก ๒๑ - ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๖
ข้อมูลรูปภาพ
สำหรับนำไปทำสิ่งพิมพ์
หนังสือ
Download หนังสือเนื่องในวันวิสาขบูชาโลก
เพลง
นิทรรศการ
หลักการและเหตุผล
 


พระประวัติ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (สุวัฑฒนมหาเถระ เจริญ คชวัตร)
วีดีทัศน์เสนอพระประวัติ และงานฉลองพระชันษา
๒๕๕๖ ปีมหามงคล พระชันษาครบ ครบ ๑๐๐ ปี
วันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖
การเสวนาทางวิชาการเรื่อง :
พระสงฆ์กับการส่งเสริมการศึกษาและคุณค่าความเป็นมนุษย์
หนังสือและเอกสาร
๒๕๕๖ ปีมหามงคล พระชันษาครบ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖
 
Bangkok Declaration

  เกี่ยวกับ UNDV
การจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาของ การจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก
คณะกรรมการวิสาขบูชา นานาชาติ
International Council of the United Nations Day of Vesak
ผู้บริหาร สมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ
International Association of Buddhist Universities
สำนักงาน
สำนักงาน สสวล. / สมพน.
โครงการ
หลักการและเหตุผล
คำประกาศปฎิญญากรุงเทพมหานคร
เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก
     



ปฏิญญากรุงเทพฯ การประชุมพระพุทธศาสนานานาชาติ ครั้งที่ ๘ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก

ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ และ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม


เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒ ผู้แทน ๓๔ ประเทศได้เสนอต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติให้วันวิสาขบูชา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนพฤษภาคม เป็นวันสำคัญสากลของโลก และขอให้มีการจัดงานฉลองที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติและสำนักงานประจำภูมิภาคต่างๆ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้มีมติรับรองตามนั้น (ในสมัยที่ ๕๔ วาระที่ ๑๗๔) ดังนั้น วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก จึงได้ก่อกำเนิดขึ้นในปี ๒๕๔๓ ด้วยความร่วมมือของชาวพุทธทุกนิกาย เพื่ออนุวัตรตามมติที่ประชุมสหประชาชาติ พวกเราจาก ๘๕ ประเทศและภูมิภาค จึงได้เดินทางมาฉลองวันวิสาขบูชา เข้าประชุมร่วมกัน ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีเจ้าภาพหลักคือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งรัฐบาลไทยให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมแห่งประเทศไทย

ในการประชุมที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ และพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ที่ประชุมได้เสนอหัวข้อการประชุมว่าด้วยเรื่อง "พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ" อันเป็นการส่งเสริมความเข้าใจและความร่วมมือร่วมกัน ระหว่างองค์กรและปัจเจกบุคคลต่างๆ จากพระพุทธศาสนาทุกนิกาย และที่ประชุม ได้สรุปมติเป็นเอกฉันท์ ดังต่อไปนี้
(๑) เพื่อฉลองพุทธศตวรรษที่ ๒๖ แห่งการตรัสรู้สัมโพธิญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ก่อตั้งพระพุทธศาสนาที่มีคุณูปการแก่มวลมนุษยชาติ ที่ประชุมมีมติให้อำนวยความสะดวกและส่งเสริมกิจกรรมทางด้านวิชาการ วัฒนธรรมและทางศาสนาตลอดทั้งปี อันถือเป็นงานฉลองพุทธชยันตี ทั้งในระดับชาติและระดับสากล

(๒) เพื่อเป็นการถวายเป็นราชสักการะ ในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชแห่งประเทศไทย ที่ประชุมจึงมุ่งส่งเสริมประชาชนทุกระดับชั้นให้รับทราบอย่างกว้างขวาง และดำเนินตามรอยพระยุคลบาท วิสัยทัศน์ และพระเมตตาที่พระองค์ทรงมีแก่ปวงประชา ดังตัวอย่างโครงการหลวงมากกว่า ๔,๐๐๐ โครงการ เป็นต้น

(๓) ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อเป็นการระลึกถึงโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ที่ประชุมจึงสนับสนุนให้มีการจัดประชุมสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติครั้งที่ ๒ ในเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔

(๔) เพื่อเป็นการสนับสนุนให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ได้ประยุกต์ใช้หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าให้เข้ากับสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ส่งเสริมให้ทุกคนได้ทราบถึงปรัชญาเศรษฐกิจเชิงพุทธซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดี เช่น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ประชุมจึงกระตุ้นเตือนให้โลกที่ประกอบธุรกิจเปิดโอกาสแรก ให้ความสำคัญในการการผลิตสินค้าและการบริการที่จำเป็น ก่อนการผลิตสินค้าบริโภคที่ไม่จำเป็น

(๕) ด้วยเป็นที่ทราบกันดีถึงผลกระทบที่เกิดแก่คนทั้งโลกว่า ปัญหาด้านสังคม - เศรษฐกิจของประเทศหนึ่งนั้น มิใช่ว่าจะจำกัดวงอยู่เพียงในขอบเขตของประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบไปถึงหลายๆ ประเทศ ที่ประชุมจึงให้ส่งเสริมศีลธรรมทั่วโลก อันจะช่วยนำทางให้มนุษยชาติ โดยปลูกฝังพุทธจริยธรรม ปฏิบัติกรรมฐาน และใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาชีวิตประจำวัน

(๖) เพื่อเตือนสติมวลมนุษยชาติ ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ และทางธรรมชาติแบบยั่งยืน ที่ประชุมจึงย้ำความจำเป็นด้านความสมดุลย์ ทางสายกลางอย่างเร่งด่วน ระหว่างความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และทางด้านวัตถุด้านหนึ่ง กับความเจริญก้าวหน้าทางวัฒนธรรม ศีลธรรม และทางด้านจิตใจอีกด้านหนึ่ง

(๗) ด้วยทราบถึงปัญหาทางสังคม ปัญหาครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาศาสนาและการเมือง ที่มวลมนุษย์เผชิญหน้าอยู่ และด้วยความเชื่อมั่นในความสามารถของมนุษย์ที่จะขจัดสิ่งท้าทายเหล่านั้นได้ ที่ประชุมจึงพูดย้ำให้เห็นคุณค่าแห่งความกรุณา ความเมตตา ความรัก ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การให้อภัย ความเคารพซึ่งกันและกัน ความเข้าใจอันดีต่อกัน และความเชื่อมั่น รวมทั้งส่งเสริมให้รู้คุณค่าของการพูดอย่างมีสติยั้งคิด การประนีประนอมกัน ความสามัคคีกลมเกลียว และความสงบสันติ

(๘) ด้วยเล็งเห็นมิติทางสังคมที่ต้องมีความกลมเกลียวกัน และเพื่อเป็นการเรียกร้องให้นำภูมิปัญญาที่สำคัญของพระพุทธศาสนามาใช้ โดยเน้นถึงสุขภาพจิต ทัศนะทางด้านจิตวิทยา และทางด้านสังคมที่หลากหลาย โดยมุ่งปรับปรุงสังคมให้ดีขึ้น ที่ประชุมจึงส่งเสริมให้มีแต่มิตรภาพ มีวัฒนธรรมให้ความเคารพและให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานการพึ่งพาอาศัยกันและกัน ตลอดถึงการพัฒนาคุณธรรมด้านการผลิตและการบริโภคอย่างมีสติ

(๙) เพื่อแสดงความเห็นใจผู้ประสบภัยธรรมชาติ เช่น สึนามิในญี่ปุ่น แผ่นดินไหวในนิวซีแลนด์ น้ำท่วมและพายุไต้ฝุ่นในส่วนอื่นๆ ของโลก และโดยพิจารณาเห็นว่าสิ่งแวดล้อมโลกกำลังถูกทำลายอย่างไม่ตั้งใจ และประสงค์จะให้มวลมนุษยชาติหลีกเลี่ยงการทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้ตนและสรรพสัตว์ต้องพลอยเดือนร้อนไปด้วย โดยให้ตระหนักไปที่มลภาวะเป็นพิษ, ฝนกรด, ผลกระทบเรือนกระจก, หลุมชั้นบรรยากาศบกพร่อง, และการท้าทายสภาพแวดล้อมอื่นๆ อันเป็นเหตุให้โลกเสี่ยงภัย ที่ประชุมจึงสัญญาทำงานร่วมกับรัฐ องค์การภาคเอกชน (เอ็นจีโอ) และสื่อสาขาต่างๆ ในการพัฒนาให้ความรู้ด้านการศึกษาเพื่อรักษาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

(๑๐) เพื่อกระตุ้นเตือนให้สังคมและรัฐบาลนานาชาติ มุ่งทำงานเพื่อขจัดปัดเป่าความยากจนและความไม่ทัดเทียมกันทางด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมความเป็นภราดรภาพในมวลมนุษย์ชาติ และร่วมกันปฏิบัติตามหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธเจ้า ที่ประชุมจึงปลุกชาวโลก ให้ทุกคนรู้จักสิทธิขั้นพื้นฐานของตน เพื่อมีความเป็นอยู่อย่างเป็นสุข

(๑๑) เพื่อรำลึกถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๖ แห่งการตรัสรู้ เราจะจัดทำพระไตรปิฎกฉบับสากล ทั้งเถรวาท มหายาน และวัชรยาน ให้เสร็จสมบูรณ์ จัดพิมพ์ และแจกจ่ายให้แพร่หลายโดยไม่คิดมูลค่า ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนเข้าใจหลักธรรมและหลักปฏิบัติของชาวพุทธ ที่ประชุมจึงได้รวบรวมเป็นพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์ โดยเชื่อมต่อกับแหล่งคัมภีร์ทางอีเล็กทรอนิคทั้งหมดอีกกว่า ๓๐ แห่ง ซึ่งเป็นคัมภีร์หลักๆ ทางพระพุทธศาสนาให้เข้ารวมกันเป็นระบบเดียว ให้ใช้งานได้ในเครือข่ายเดียวกัน ช่วยให้ผู้ใช้ได้เลือกคำแปลได้โดยง่าย

(๑๒) ยิ่งกว่านั้น เพื่อฉลองครบรอบพุทธศตวรรษที่ ๒๖ แห่งการตรัสรู้ ที่ประชุมจึงเรียกร้องให้รัฐบาลและองค์การยูเน็สโกที่เกี่ยวข้อง ได้เพิ่มความพยายาม ในการขุดค้นโบราณสถานในพระพุทธศาสนา พร้อมขอให้ช่วยอนุรักษ์ปูชนียสถานที่มีอยู่แล้ว รวมทั้งจัดให้ความคุ้มครอง และจัดหาแหล่งที่พักที่เหมาะสมให้แก่ผู้แสวงบุญชาวพุทธ

(๑๓) เพื่อพิทักษ์แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมสำคัญของโลก ๒ แหล่ง คือ ลุมพินี สถานที่ประสูติ และพุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ ที่ประชุมจึงย้ำชุมชนชาวพุทธทั่วโลกให้แสดงความห่วงใยอย่างแท้จริง และขอร้องให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องช่วยป้องกันผลกระทบอันตราย ที่เกิดจากภาวะมลพิษรอบๆ ปูชนียสถาน เป็นต้น
ลงวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔


หมายเหตุ ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ แปลโดย
๑. พระราชวรมุนี (พล อาภากโร) คณบดีคณะพุทธศาสตร์ มจร.
๒. พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ธมฺมธโช) ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหาร