Bangkok Declaration of the 19th International Buddhist Conference on the United Nations Day of Vesak
THE BUDDHIST WAY OF BUILDING TRUST AND SOLIDARITY
May 19–20, 2024 (B.E. 2567)
At Mahachulalongkornrajavidyalaya University (MCU)
Ayutthaya and United Nations Conference Centre
Bangkok, Thailand

Preamble
On December 15, 1999, representatives from 34 countries proposed to the United Nations General Assembly that the full moon day in May be officially recognized and observed as the United Nations Day of Vesak, starting in the Year 2000 and held annually at the United Nations Headquarters and its Regional Offices. The General Assembly approved this proposal (Agenda Item 174 of Session No. 54), and thus the UN Day of Vesak was established in the Year 2000 with the support of all Buddhist traditions.



In accordance with this decision, we, participants from 73 countries and regions, gathered in Ayutthaya and Bangkok, Thailand on May 19th–20th, 2024 (B.E. 2567) to commemorate the Birth, Enlightenment, and Passing of the Buddha; and also to celebrate the 72nd Royal Birthday of His Majesty the King of Thailand. This event was graciously organized by the International Council for the Day of Vesak and Mahachulalongkornrajavidyalaya University; and generously supported by the Royal Government of Thailand under the guidance of the Supreme Sangha Council of Thailand.

During the meetings at the Mahachulalongkornrajavidyalaya University Main Campus in Wang Noi, Ayutthaya; the UNESCAP in Bangkok; and Buddhamonthon in Nakhon Pathom Province, we discussed the theme of “The Buddhist Way of Building Trust and Solidarity,” aiming to enhance mutual understanding and co-operation among organizations and individuals from all Buddhist traditions and beyond. At the conclusion of our productive meetings and deliberations, we have unanimously agreed on the following 12 resolutions:
  • Buddhist leaders from various traditions invoked the blessings of the Noble Triple Gem upon His Majesty, King Rama X of Thailand, on the auspicious occasion of His 72th Royal Birthday, wishing Him good health, longevity, and happiness.
  • We, all the participants, also extend our profound admiration for the Royal Thai Tipiṭaka Translation Project, which involves the translation by Thai and international scholars of the complete 45 volumes of the Siamrath Edition of the Pali Tipiṭaka into English. This project has been launched by the Supreme Sangha Council of Thailand and generously supported by the Royal Government of Thailand in honour of the Coronation of His Majesty King Vajiralongkorn, Rama X. This year, to celebrate the 72nd Royal Birthday of His Majesty the King, one volume from each of the three collections of the Tipiṭaka will be published.
  • Recognizing a sense of shared purpose and universal responsibility, we, the Buddhist communities worldwide, urge citizens and governments to redouble their efforts in building trust and solidarity in today’s world, so fractured by conflicts, by using mindfulness, empathy and compassion as the basis for respectful dialogue and co-operation.
  • Acknowledging the universality of suffering and the shared desire for happiness, we resolve to build and nurture connections that transcend our ostensible cultural and ideological differences.
  • We are committed to following the Buddhist framework of cultivating trust within ourselves and with others, shifting from a competitive to a collaborative mindset: promoting mindful emotional management, communication and effective problem-solving, leading to global partnership.
  • We emphasize the importance of tolerance, active listening and mindful dialogue as valuable tools for fostering mutual respect and in building bridges across religious divides.
  • We commit to increasing our efforts in developing and promoting mindful education to ensure future generations are provided with the necessary skills and knowledge to contribute to a more peaceful and compassionate world. This foundation is based on ethical conduct, mindfulness, and compassionate wisdom – the very cornerstones of a harmonious society as taught by the Buddha in the Four Noble Truths and the Middle Path.
  • We urge the Buddhist communities and beyond to apply mindful compassion to many spheres of daily life. We discussed successful case studies such as (a) mindful eating, as in Zen Eating which connects us to all the people and processes that make every bite of our food possible; (b) mindful compassion in the workplace, for instance, of healthcare workers; and (c) mindful education, with the example of the “Mindful School Project” (Sati Pasala) in Sri Lanka.
  • We agree that mindfulness may also be applied to a range of other activities, for example, in diplomacy, international trade and nationbuilding. In the case of Vietnam, mindfulness is used to embrace the present and not dwell on her painful past, thus bringing healing to all concerned, contributing to world peace and prosperity.
  • We declare that mindfulness, if widely applied in societies, has the potential to reduce inequality, to narrow the gap in health and economic terms between the haves and the have-nots, and thus be instrumental in achieving the UN Sustainable Development Goals, that are essential for our collective future.
  • We emphasize the need for continued climate-awareness action and engaged mindfulness from its leadership, serving as a model for responsible environmental stewardship at all levels of society.
  • Finally, the International Council for the Day of Vesak is pleased to announce its approval and support for the Vietnam Buddhist Sangha to host the 20th United Nations Day of Vesak in Ho Chi Minh City, Vietnam in 2025. This will be the fourth time Vietnam has held this prestigious honour. We extend a warm invitation to all Buddhist leaders, scholars, and practitioners to join us in Vietnam for this momentous occasion.
Done as the Declaration of the 19th United Nations Day of Vesak, this 20th Day of May 2024 (B.E. 2567).


ปฏิญญากรุงเทพฯ ครั้งที่ ๑๙
การประชุมวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก

พุทธวิถีสู่การสร้างความไว้วางใจและความสามัคคี
ระหว่างวันที่ ๑๙ - ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๗/ค.ศ. ๒๐๒๔
ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย อยุธยา
และศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ ประเทศไทย
เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ผู้แทน ๓๔ ประเทศ ได้เสนอต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติให้วันวิสาขบูชา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนพฤษภาคมเป็นวันสำคัญสากลของโลก และให้มีการจัดงานฉลองที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติและสำนักงานประจำภูมิภาคต่างๆ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ได้มีมติรับรองตามนั้น (ในสมัยที่ ๕๔ วาระที่ ๑๗๔) ดังนั้น วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก จึงได้ก่อกำเนิดขึ้นในปี ๒๕๔๓ ด้วยความร่วมมือของชาวพุทธทุกนิกาย เพื่ออนุวัตรตามมติที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ พวกเราจาก ๗๓ ประเทศและภูมิภาค จึงได้มาร่วมกันฉลองวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ระหว่างวันที่ ๑๙ - ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๗/ค.ศ. ๒๐๒๔ และเฉลิมพระชนมพรรษา ๗๒ พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ แห่งประเทศไทย การประชุมครั้งนี้จัดโดยสภาสากลวันวิสาขบูชาโลกและมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทย และได้รับคำแนะนำจากมหาเถรสมาคมแห่งประเทศไทย

ในการประชุม ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ และพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม พวกเราได้สนทนาแลกเปลี่ยนในหัวข้อเรื่อง “พุทธวิถีสู่การสร้างความไว้วางใจและความสามัคคี” โดยมุ่งให้เกิดความเข้าใจกันและทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรและปัจเจกชน จากทุกนิกายของพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น
ในที่สุดแห่งการประชุมแลกเปลี่ยนอย่างสร้างสรรค์ พวกเรามีมติเป็นเอกฉันท์ให้ประกาศปฏิญญา ๑๒ ข้อ ดังต่อไปนี้

๑. ผู้นำชาวพุทธนิกายต่างๆ จาก ๗๓ ประเทศและภูมิภาค ขออ้างคุณพระศรีรัตนตรัยถวายพระพรชัยมงคล แด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗๒ พรรษา ขอให้ทรงพระเกษมสำราญเจริญพระชนม์ยิ่งยืนนาน

๒. พวกเราผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด ขอชื่นชมโครงการแปลพระไตรปิฏกเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งมีนักปราชญ์ชาวไทยและนานาชาติแปลพระไตรปิฏกภาษาบาลีฉบับสยามรัฐ จำนวน ๔๕ เล่ม เป็นภาษาอังกฤษ โครงการนี้ริเริ่มโดยมหาเถรสมาคมและได้รับการอุปถัมภ์จากรัฐบาลไทยเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ ในปีพระบรมราชาภิเษก สำหรับปีนี้มีกำหนดจัดพิมพ์พระไตรปิฏกเล่มแรกของแต่ละปิฏก รวม ๓ เล่ม เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗๒ พรรษา

๓.ด้วยตระหนักว่าพวกเราต่างมีวัตถุประสงค์และความรับผิดชอบร่วมกัน พวกเราประชาคมชาวพุทธทั่วโลก ขอเรียกร้องให้พลเมืองและรัฐบาลทั้งหลายเพิ่มความพยายามมากยิ่งขึ้นในการสร้างความไว้วางใจและความสามัคคีในโลกปัจจุบันที่แตกแยกเพราะความขัดแย้งกัน ด้วยการใช้สติ ความเห็นอกเห็นใจและความกรุณาเป็นฐานของการสนทนาแลกเปลี่ยนด้วยความเคารพและความร่วมมือกัน

๔. ด้วยยอมรับว่าทุกคนประสบความทุกข์และปรารถนาความสุข พวกเราจึงมีมติที่จะสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์ที่ข้ามพ้นความแตกต่างที่เห็นได้ชัดทั้งด้านวัฒนธรรมและด้านอุดมการณ์

๕.พวกเรายึดมั่นตามแนวคำสอนในพระพุทธศาสนาที่ให้ปลูกฝังความไว้วางใจภายในตัวเราและกับคนอื่น โดยเปลี่ยนจากความคิดแข่งขันกันเป็นความคิดร่วมมือกัน โดยส่งเสริมการจัดการอารมณ์อย่างมีสติ มีการสื่อสารและการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิผล และนำไปสู่ความร่วมมือระดับโลก

๖. พวกเราเน้นย้ำถึงความสำคัญของขันติธรรม การรับฟังอย่างตั้งใจ และการสนทนากันอย่างมีสติ ในฐานะเป็นเครื่องมืออย่างมีคุณค่า ในการหล่อเลี้ยงความเคารพซึ่งกันและกัน และในการสร้างสะพานข้ามพ้นความแตกต่างทางด้านศาสนา

๗.พวกเราตั้งใจจะเพิ่มความพยายามในการพัฒนาและส่งเสริมการศึกษาอย่างมีสติ เพื่อทำให้แน่ใจว่าคนรุ่นต่อไปจะมีทักษะและความรู้ที่จำเป็น เพื่อช่วยให้โลกมีความสงบและมีความเห็นอกเห็นใจกันยิ่งขึ้น ซึ่งพื้นฐานนี้ตั้งอยู่บนความประพฤติอย่างมีจริยธรรม การใช้สติ และใช้ปัญญาประกอบด้วยกรุณาในทุกภาคส่วนของสังคมให้มีความสามัคคีกัน ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ในเรื่องอริยสัจสี่และมัชฌิมาปฏิปทา

๘. พวกเราเรียกร้องให้ชุมชนชาวพุทธและทุกชุมชน ใช้ความกรุณาที่ประกอบด้วยสติในทุกส่วนของชีวิต ดังที่เราสนทนาแลกเปลี่ยนเป็นกรณีศึกษา เช่น (ก) การรับประทานอาหารอย่างมีสติ เหมือนกับการรับประทานอาหารแบบเซน ที่เชื่อมโยงพวกเรากับทุกๆ คน และกระบวนการที่ทำให้การรับประทานอาหารแต่ละครั้งเป็นไปอย่างมีสติ (ข) มีความกรุณาประกอบด้วยสติ ในสถานที่ทำงาน เช่น คนทำงานเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพ (ค) การศึกษาอย่างมีสติ เหมือนกับโครงการโรงเรียนมีสติ (สติปะสาละ) ในประเทศศรีลังกา

๙. พวกเราตกลงกันว่า จะต้องใช้สติในทุกๆ กิจกรรม เช่น ทางการทูต การค้าระหว่างประเทศ การสร้างชาติ เช่น ตัวอย่างที่ดีของประเทศเวียดนาม ซึ่งใช้สติอยู่กับปัจจุบันและไม่จมอยู่กับอดีตที่ปวดร้าว ดังนั้น จึงนำการเยี่ยวยามาให้แก่ทุกคนที่เกี่ยวข้อง และช่วยส่งเสริมให้โลกมีสันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง

๑๐. พวกเราขอประกาศว่า การใช้สติ ถ้านำมาใช้อย่างแพร่หลายในสังคม มีศักยภาพลดความไม่เท่าเทียมกัน ทำให้ลดช่องว่างในด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ ระหว่างคนมีและคนจนแคบเข้า ดังนั้น จะเป็นเครื่องมือทำให้บรรลุถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับอนาคตโดยรวมของพวกเรา

๑๑.พวกเราขอเน้นย้ำถึงความจำเป็นของการปฏิบัติการอันเกิดจากการตระหนักรู้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่ยังคงอยู่ และให้ระดับผู้นำใช้สติซึ่งจะเป็นแบบอย่างสำหรับการดูแลสิ่งแวดล้อมในสังคมทุกระดับ

๑๒.ข้อสุดท้าย สภาสากลวันวิสาขบูชาโลก มีความยินดีที่จะแจ้งให้ทราบเรื่องการรับรองและสนับสนุนคณะสงฆ์เวียดนามที่รับเป็นเจ้าภาพจัดงานวันวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ ๒๐ ที่เมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ปี พ.ศ. ๒๕๖๘/ค.ศ. ๒๐๒๕ ซึ่งจะเป็นครั้งที่ ๔ ที่ประเทศเวียดนามได้รับเกียรติสูงสุดนี้ เราขอเชิญชวนผู้นำชาวพุทธ นักปราชญ์ ผู้สนใจทุกท่านร่วมงานกับพวกเราที่เวียดนามในโอกาสสำคัญเช่นนี้

ปฏิญญากรุงเทพฯ เนื่องในวันวิสาขบูชานานาชาติ ครั้งที่ ๑๙
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖/ค.ศ. ๒๐๒๔

Visakha Puja, or the United Nations Day of Vesak, is the festival that celebrates the birth, enlightenment, and parinirvana (passing away) of the Lord Buddha.
More information please contact:
ICDV & IABU Office
401,Zone D, D400 4th floor, School Building,
Mahachulalongkornrajavidyalaya University
Lamsai, Wang Noi, Ayutthaya 13170
Tel: + 662 623 632, 66 35 248 098 Fax: + 66 35 248 099
Co-organization



©2024 icdv.net / International Council for the Day of Vesak